ข้อบังคับ
๑.กลอนดอกสร้อยบทหนึ่งมี ๔ คำกลอน
หรือ ๘ วรรค วรรคหนึ่งใช้คำ ๖-๘ คำ
๒. วรรคแรกที่ขึ้นต้นโดยมากมี ๔ คำ คำที่
๑ กับคำที่ ๓ ต้องซ้ำคำเดียว กัน คำที่ ๒ ค้องเป็นคำว่า " เอ๋ย"
ส่วนคำที่ ๔ เป็นคำอื่นที่รับกัน เช่น
นักเอ๋ยนักเรียน เด็กเอ๋ยเด็กน้อย
๓.กลอนดอกสร้อยจะต้อง
ลงท้ายด้วยคำว่า"เอย"เสมอ
แต่ถ้าเป็นกลอนดอกสร้อยในบทละครไม่ต้องลงท้ายด้วยคำว่าเอย
๔.สัมผัสและลักษณะไพเราะ
อื่นๆเหมือนกลอนสุภาพเสียงท้ายวรรคของดอกสร้อย
เสียงท้ายวรรคในที่นี้หมายถึงเสียงวรรณยุกต์
๑. คำสุดท้ายวรรคสดับใช้ได้ทั้ง ๕
เสียงแต่ไม่นิยมเสียงสามัญ
๒. คำสุดท้ายวรรครับ
ห้ามใช้เสียงสามัญและนิยมว่าเสียงจัตวาไพเราะที่สุด
๓.
คำสุดท้ายวรรครองนิยมเสียงสามัญ
๔. คำสุดท้ายวรรคส่ง
นิยมใช้เสียงสามัญ
เสียงสัมผัสอักษร
๑.กลอนดอกสร้อยบทหนึ่งมี ๔ คำกลอน หรือ ๘ วรรค วรรคหนึ่งใช้คำ ๖-๘ คำ
เสียงท้ายวรรคในที่นี้หมายถึงเสียงวรรณยุกต์
สัมผัสอักษรในวรรคเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้บทกลอนไพเราะขึ้นมีแบบอย่างต่างๆดังนี้
๑. คู่สัมผัสอักษรเรียงกัน ๒ คำ เช่น
แม่ป้องปัดความยากทุกข์ที่ขุกเข็ญ
๒. เทียบคู่สัมผัสอักษรเรียงกัน ๓ คำู่
เช่น ผุดผ่องผาดพึงพิศพินิจผอง
๓. เทียมรสสัมผัสอักษรเรียงกัน ๔คำ
เช่น ช่างโดดเดี่ยวเด็ดได้หนอใจไฉน
๔. เทียบรสสัมผัสอักษรเรียงกัน ๕ คำ
เช่น มาโรยร่วงแรมรสเรณูนวล
๕. เทียบคู่สัมผัสอักษรเรียงกัน ๒ คู่
เช่น เสียดายดวงพวงพุ่มโกสุมสงวน
๖. แซกคู่สัมผัสอักษร
ที่มีคำอื่นคั่นกลาง ๑ คำ เช่นดังเทียนดับวับเดียวประเดี๋ยวใจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น